ผู้ประกอบการไต้หวันประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming ไม่ว่าจะเป็นระบบตรวจสอบพยากรณ์สภาพแวดล้อมอัจฉริยะ, ระบบตรวจวัดสเปกตรัม, AIoT ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์, ระบบป้องกันแมลงออแกนิก ฯลฯ

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (BOFT) จึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจการค้าไต้หวัน (Commerce Development Research Institute : CDRI) และสื่อภาษาจีนในไทย Vision Thai จัดกิจกรรม “Wow! Taiwan Project: 2023 i-farming Solutions Demo Day” ขึ้นที่กรุงเทพ ฯ อย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 เพื่อช่วยแก้ปัญหาเชิงเทคนิคที่ประเทศอาเซียนซึ่งกำลังผลักดันการเกษตรอัจฉริยะกำลังเผชิญหน้าอยู่ เช่น ปัญหาระบบตรวจสอบสิ่งแวดล้อมAIoT, การทำเกษตรอัตโนมัติ และอื่น ๆ โดยภายในงานได้เชิญผู้เชี่ยวชาญชาวไทยด้วยกัน 3 ท่านมาพูดถึงจุดอ่อนของอุตสาหกรรมเกษตรของไทย และยังได้เชิญผู้ประกอบการไต้หวันทั้งหมด 11 บริษัทมาแนะนำโซลูชันที่สอดคล้องซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมแนะนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ให้บริษัทไทย ซึ่งนับเป็นการสร้างโอกาสทางการค้ามูลค่ากว่าหลายร้อยล้าน

หนีเค่อฮ่าว ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ได้กล่าวเปิดงานว่า “ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้ประกอบการไต้หวัน จึงสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของลูกค้า อีกทั้ง สามารถจัดหาแผนโซลูชันและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แบบครบวงจรตามความต้องการของตลาดได้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานครั้งนี้จะทำให้บริษัทไทยได้เห็นถึงเทคโนโลยีและโซลูชันของไต้หวัน พร้อมส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมแบบทวิภาคี”

ภายในงานยังได้เชิญตัวแทนจาก Young Smart Farmer Thailand, ตัวแทนจากสมาคมส่งเสริมการประมงแห่งประเทศไทย, ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และประธานสมาคมเกษตรกรรมและการประมงไต้หวันในประเทศไทย มาร่วมถามคำถามกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างมาก

โดยคำถามแรกจากผู้เชี่ยวชาญชาวไทย คือ “เชียงใหม่เป็นแหล่งเพาะปลูกเมล็ดกาแฟและดอกไม้นานาพรรณ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็เริ่มมีการปลูกโกโก้เช่นกัน พืชเหล่านี้ล้วนมีมูลค่าสูง ผู้ประกอบการจากไต้หวันมีโซลูชันที่สามารถลดผลกระทบจากแมลงศัตรูพืชและโรคพืชหรือไม่”

สำหรับคำถามนี้ บริษัท “Beehive Data Technology” จากไต้หวัน ได้เสนอโซลูชัน “อุปกรณ์ตรวจจับสภาพอากาศระดับไมโคร” ที่ร่วมมือกับสถานีตรวจอากาศในพื้นที่ สามารถนำข้อมูลสภาพแวดล้อมในพื้นที่เกษตรกรรมใส่เข้าไปในเครื่องมือที่ติดตั้ง ทำให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมพื้นที่เกษตรกรรมของตัวเองได้แบบเรียลไทม์ โดยตัวเครื่องจะประมวลเป็นโซลูชันข้อมูลสภาพอากาศระดับไมโครออกมา

บริษัท “Innovation Foremost Asia” ได้นำเสนอ “เครื่องตรวจจับแบบไร้สาย” ที่สามารถจัดเรียงกลุ่มตามความต้องการได้ เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ที่หลากหลาย เช่น การปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponics) การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสาน (Aquaponics) พื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกพื้นและเลี้ยงปลาด้วยกัน และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture)

บริษัท “GoodLinker” นำเสนอ “กล่องเครื่องจักรอัจฉริยะ Smart Machine Box” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะของบริษัท สามารถตรวจจับอุณหภูมิโดยรอบได้อย่างแม่นยำและสามารถปรับอุณหภูมิพื้นที่ได้แบบเรียลไทม์

บริษัท “Aeon Matrix” นำเสนอ “อุปกรณ์ระบบรดน้ำอัจฉริยะ” ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา สามารถคำนวณปริมาณน้ำที่พืชและผลผลิตทางเกษตรต้องการได้อย่างแม่นยำ และกำหนดเวลารดน้ำโดยอัตโนมัติ โดยอิงข้อมูลจากตัวแปรต่าง ๆ เช่น การเพาะปลูก, ประเภทดิน, ระดับความลาดเอียง, แสงอาทิตย์, จำนวนและประเภทสปริงเกอร์

และบริษัท “Brinno Incorporated” นำเสนอ “กล้องวงจรปิด Time Lapse” ซึ่งสามารถตรวจจับสภาพแวดล้อมและสภาพการเจริญเติบโตของพืชได้ตลอดเวลา ช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวนได้

คำถามที่สองจากผู้เชี่ยวชาญชาวไทย คือ “คนไทยให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพมากขึ้น เทรนด์อาหารแบบ Farm to Table เป็นที่นิยมอย่างมาก เพื่อจัดหาผักและผลไม้ที่สดใหม่ ฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางทั่วเมืองจึงทยอยผุดขึ้นมามากมาย เช่น StarCat Wise Farm และ Organ by Smart Nine Farm ผู้ประกอบการไต้หวันมีผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่สอดคล้องกับความต้องการของนักธุรกิจชาวไทยที่ต้องการเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้หรือไม่”

สำหรับคำถามนี้ บริษัท “Earthgen Technology” และ “Wisdomer Ltd.” ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้ “เซ็นเซอร์ตรวจจับสภาพแวดล้อม” และ “โดรนเพื่อการเกษตร” รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการทำฟาร์มขนาดใหญ่ได้ บริษัท “Hydroponics Lin Agritech” นำเสนอ “อุปกรณ์ปลูกพืชแนวตั้ง” ซึ่งสามารถปลูกพืชโดยห่างจากดินได้ อีกทั้ง อุปกรณ์ยังประกอบง่าย และสามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่จำกัด บริษัท “Phansco” นำเสนอ “Portable Raman Detector System” ใช้เทคโนโลยีตรวจจับสเปกตรัมในการระบุสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง และบริษัท “GZ Technology” นำเสนอ “เครื่องดักแมลง” ซึ่งตรวจจับด้วยอินฟราเรดมาล่อจับหนอนกระทู้ผัก ช่วยลดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรได้

คำถามสุดท้ายจากผู้เชี่ยวชาญชาวไทย คือ “การเลี้ยงสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนกำลังคน กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มซีพี ก็ลงทุนซื้ออุปกรณ์โรงงานระบบอัตโนมัติ เพื่อลดความต้องการกำลังคน ธุรกิจ SME ก็เปิดรับแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา หรือเมียนมาร์ เพื่อชดเชยเรื่องกำลังคน แต่ความแตกต่างด้านคุณภาพและวัฒนธรรมของแรงงานข้ามชาติก็ถือเป็นปัญหาสำหรับผู้ประกอบการไทย บริษัทจากไต้หวันมีโซลูชันระบบอัตโนมัติสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้หรือไม่”

สำหรับคำถามนี้ บริษัท “Smartagri Integration Service” ได้นำเสนอระบบจัดการ AI ตรวจสอบภาพอัจฉริยะ ที่ใช้เทคโนโลยีตรวจสอบการเลี้ยงสัตว์ผสานกับเทคโนโลยีระบบจดจำภาพ เช่น ความร้อนในโคนม พฤติกรรมของหมู เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งการเกษตรและปศุสัตว์ ช่วยยกระดับการจัดการผลผลิตทางการเกษตรและประสิทธิภาพการจัดการให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงปรับปรุงระบบของฟาร์มปศุสัตว์ให้ทันสมัย ตั้งแต่โรงเลี้ยงจนถึงโรงเชือด

กิจกรรมในครั้งนี้ดำเนินโดยผู้เชี่ยวชาญชาวไทยถามคำถามและให้ผู้ประกอบการไต้หวันตอบคำถามพร้อมนำเสนอโซลูชัน ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ในเชิงลึก ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ Smart Farming ไต้หวันและไทยจับคู่ธุรกิจเป็นผลสำเร็จ อีกทั้งยังช่วยผลักดันอุปกรณ์และโซลูชัน Smart Farming ชั้นยอดของไต้หวันให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และขยายโอกาสในตลาดประเทศไทยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังสามารถพูดคุยถามคำถามกับบริษัทไต้หวันโดยตรง ทำให้ผู้ประกอบการไต้หวันเข้าใจและรู้ถึงความต้องการของตลาดไทยมากยิ่งขึ้น