กองทุน SSF (Super Savings Funds) เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาวที่ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องจากรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้ประชาชนออมเงินระยะยาว 10 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินสำหรับการใช้จ่ายในอนาคตได้เพิ่มมากขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งสำหรับใครก็ตามที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวม SSF ก็สามารถนำเงินที่ซื้อกองทุนมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย

ลงทุนกองทุน SSF ปี 2567 เตรียมพร้อมรับโอกาสเติบโต

การเริ่มต้นวางแผนการลงทุนตั้งแต่ต้นปี จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้การลงทุนนั้นเติบโต โดยเฉพาะกองทุนรวม SSF ที่ให้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย ซึ่งควรเริ่มต้นวางแผนตั้งแต่ได้รับรายได้ก้อนแรก เพื่อให้มีเงินลงทุนอย่างต่อเนื่อง ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเต็มขั้น แต่ก่อนจะเริ่มต้นลงทุน ต้องมาอัปเดตเงื่อนไข SSF 2567 เพื่อการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีแบบไม่ให้ผิดเงื่อนไขด้วย

  1. การลงทุนในกองทุนรวม SSF สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภท โดยสามารถลงทุนได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำ
  2. ลงทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท
  3. SSF ซื้อรวมกับการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  4. ไม่มีเงื่อนไขบังคับให้ลงทุนต่อเนื่องทุกปี
  5. ไม่มีการกำหนดขั้นต่ำในการลงทุน
  6. ปัจจุบันสามารถนำเงินที่ซื้อกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2567*
  7. กองทุน SSF ที่ซื้อไว้ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปี เช่น หากซื้อวันที่ 5 มกราคม 2567 จะสามารถขายคืนได้เมื่อครบวันที่ 6 มกราคม 2577 (นับเป็นแบบวันชนวัน เดือนชนเดือน)

จากเงื่อนไขของการลงทุนในกองทุน SSF จะเห็นได้ว่า ในปี 2567 นี้ เป็นปีสุดท้ายสำหรับการได้รับสิทธิ์ลดภาษี SSF* จึงเป็นอีกหนึ่งกองทุนรวมที่น่าสนใจ และตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี และอย่าลืมว่าถ้าลงทุนก่อน ก็มีสิทธิ์ที่เงินของเราจะเติบโต สร้างผลกำไรได้ก่อนใคร และยิ่งลงทุนไวก็ยิ่งขายคืนได้ไว
*อัปเดตข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2567

กองทุน SSF มีแต่ได้กับได้ ลงทุนระยะยาว พร้อมประหยัดภาษี

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การลงทุนในกองทุนรวม SSF นั้นจะต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี แบบวันชนวัน ซึ่งข้อดีของการถือครองกองทุนในระยะยาว คือ ช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับผลตอบแทน มีเงินออมไว้ใช้ในอนาคต และผลประโยชน์ที่ได้รับทันทีเมื่อเราเลือกซื้อกองทุนรวม SSF ก็คือ การได้ประหยัดภาษี ซึ่งจะทำให้มีเงินเหลือเพิ่มขึ้นในทันที

และอีกหนึ่งจุดเด่นของกองทุน SSF ก็คือ หากผู้ลงทุนต้องการได้ผลกำไรตอบแทนในรูปแบบเงินปันผล ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุน SSF ที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลได้เช่นกัน แต่ข้อควรรู้คือ จะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 10% สำหรับเงินปันผลที่ได้รับ ส่วนสำหรับใครที่ไม่อยากเสียภาษีในส่วนนี้ ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวม SSF ชนิดสะสมมูลค่าได้

เริ่มต้นลงทุนกองทุน SSF ทำได้อย่างไร

สำหรับใครที่มีความสนใจและอยากเริ่มต้นลงทุนในกองทุน SSF ก็สามารถเริ่มลงทุนง่าย ๆ ด้วยวิธีการดังนี้

  1. คำนวณเงินได้ ณ ปัจจุบัน เพื่อเช็กว่า SSF ลดภาษีได้เท่าไหร่ จะได้ซื้อ SSF ลดภาษีได้อย่างไม่ผิดเงื่อนไข คือ สูงสุด 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท
  2. เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวม
  3. ทำแบบประเมินความเสี่ยงที่ตนเองสามารถรับได้
  4. เลือกกองทุน SSF ที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่ตนเองสนใจ หรือเลือกดูจากกองทุน SSF แนะนำ เพื่อความรวดเร็วในการคัดเลือกกองทุนยิ่งขึ้น
  5. ซื้อกองทุนที่เลือก และถือลงทุนตามเงื่อนไขของกองทุนนั้น ๆ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้นลงทุน SSF ทำได้ไม่ยาก หากใครเริ่มต้นลงทุนครั้งแรกในปี 2567 นี้ ก็ทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย ส่วนท่านใดที่มีบัญชีซื้อขายกองทุนอยู่แล้ว ก็เพียงเลือกกองทุนรวม SSF ที่สนใจ แล้วกดซื้อได้ทันทีเช่นกัน

3 กองทุน SSF แนะนำจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สำหรับใครที่สนใจลงทุนในกองทุน SSF แต่ยังตัดสินใจเลือกกองทุนไม่ได้ ทางธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็มีกองทุนรวม SSF ที่น่าสนใจ และน่าลงทุน มาให้คุณได้พิจารณา 3 กองทุน

  1. กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้-เพื่อการออม (KFAFIXSSF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการออม / กองทุนรวมตราสารหนี้ / กลุ่มกองทุนรวม Mid Term General Bond
ระดับความเสี่ยง: ระดับ 4 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสินทรัพย์หลักที่ลงทุนจะเป็นตราสารหนี้ ทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชน และเงินฝาก โดยมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี และยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ คาดหวังความสม่ำเสมอของผลตอบแทน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

  1. กองทุนเปิดกรุงศรี SET100-เพื่อการออม (KFS100SSF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการออม / กองทุนรวมตราสารทุน/ กองทุนรวมดัชนี / กลุ่มกองทุนรวม Equity Large Cap
ระดับความเสี่ยง: ระดับ 6 เสี่ยงสูง
สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนเพื่อผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี SET100
เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี และผลตอบแทนตามตลาดหุ้นไทย อยากกระจายการลงทุนด้วยการซื้อหุ้นใหญ่จาก SET100
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

  1. กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้ปันผลเพื่อการออม (KFGBRANSSF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการออม / กองทุนรวมตราสารทุน /กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund / กลุ่มกองทุนรวม Global Equity
ระดับความเสี่ยง: ระดับ 6 เสี่ยงสูง
สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนในหุ้นแบรนด์เด่นของบริษัทชั้นนำที่คนทั่วโลกเลือกใช้
เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี และอยากลงทุนในอุตสาหกรรมสินค้าแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และมีชื่อเสียงทั่วโลก อยากเสริมความต้านทานให้พอร์ตการลงทุนจากภาวะเศรษฐกิจ
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลอัปเดตของกองทุนรวม SSF ปี 2567 สำหรับใครที่สนใจออมเงิน ลงทุนระยะยาว และซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี กองทุน SSF ก็ยังคงตอบโจทย์สำหรับปีนี้อยู่ สามารถเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับตนเองได้เลย หรือถ้าให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วกว่า สามารถติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพื่อพูดคุยและขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงิน การลงทุน และการลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะ ได้ที่ช่องทางฮอตไลน์ 02-296-5959 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับก็ได้เช่นกัน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน

  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • SSF เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออม ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
  • KFGBRANSSF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • KFAFIXSSF อาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วน หรือทั้งจำนวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในโครงการ