บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และพันธมิตรรายอื่น ๆ เปิดตัวการแข่งขัน “Spark Ignite 2021 Thailand Startup” เชิญชวนเหล่าบริษัทสตาร์ทอัพทั่วไทยเข้าร่วมเพื่อโอกาสที่จะเข้าสู่โครงการ “Huawei Spark Accelerator” โครงการที่มุ่งบ่มเพาะ และเร่งการเติบโตของภาคธุรกิจ รวมถึงการสร้างอีโคซิสเต็มทางธุรกิจให้แก่ภาคธุรกิจต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC)
โครงการ Huawei Spark คือโครงการที่ช่วยส่งเสริมและผลักดันสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีที่มีธุรกิจอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2563 จัดขึ้นโดยกลุ่มผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมธุรกิจคลาวด์และ AI ของหัวเว่ย โดยโครงการ Huawei Spark ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของบริษัทสตาร์ทอัพต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนทั้งด้านเครดิตคลาวด์ การฝึกอบรมด้านเทคนิค และจัดหาทรัพยากรและการผลักดันการเข้าสู่ตลาด การเข้าร่วมเครือข่ายองค์กรทั่วโลกของหัวเว่ย ผ่าน Spark Fire และการสนับสนุนด้านต่าง ๆ อีกมากมาย
โครงการ Spark มุ่งเน้นที่บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยี 5G, กลุ่มธุรกิจองค์กรอัจฉริยะ (EI) / ระบบการเรียนรู้และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning & Analytics), อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง(IoT), การประมวลผลข้อมูล (Edge Computing) และแอปพลิเคชันประเภท Software as a Service (SaaS) ที่ใช้เทคโนโลยีโซลูชันเป็นหัวใจหลัก หรือใช้เทคโนโลยีโซลูชันเป็นสินค้าและบริการขององค์กร
การแข่งขัน Spark Ignite Startup ถือเป็นทางลัดที่สำคัญสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพที่จะได้โอกาสเข้าร่วมโครงการ Huawei Spark Accelerator โดยในปี 2563 การแข่งขันสตาร์ทอัพ Spark Ignite ระดับโลก มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 500 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทีมที่ชนะเลิศทั้ง 15 ทีม เช่นทีม Scantist และทีม Ucars ต่างประสบความสำเร็จทั้งการสร้างการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจ การระดมทุน และการประเมินมูลค่าของบริษัท
หัวเว่ย ประเทศไทยเริ่มโครงการแข่งขันสตาร์ทอัพในประเทศไทยครั้งนี้เพื่อมองหาบริษัทสตาร์ทอัพที่สร้างนวัตกรรมและมีโซลูชันใหม่ ๆ ในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมการเงินและประกันภัย สาธารณสุข การศึกษา โทรคมนาคม อีคอมเมิร์ซ /อินเทอร์เน็ต สื่อและเกม และแอปพลิเคชันบนมือถือ โดยหัวเว่ยมุ่งส่งเสริม ธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลผ่านอีโคซิสเต็มของเหล่าพาร์ทเนอร์
การแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมี นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวเปิดการแข่งขัน Spark Ignite Start up
“ดีป้าส่งเสริมและผลักดันดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยมาอย่างต่อเนื่อง และจากการดำเนินงานมาอย่างยาวนาน เราได้เห็นสัญญาณที่ดีว่าประเทศของเรามีสตาร์ทอัพไทยในระดับยูนิคอร์น* แล้ว อย่างไรก็ตาม สินค้าหรือบริการจากดิจิทัล สตาร์ทอัพไทยยังขาดแคลน Deep Tech ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและสร้างความแตกต่าง รวมถึงเพิ่มมูลค่าในเวทีโลก การจัดงาน “Spark Ignite 2021 – Thailand Startup Competition” ครั้งนี้ ทางดีป้ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับหัวเว่ย และหน่วยงานต่าง ๆ ในการสร้างโอกาสให้ดิจิทัลสตาร์ทอัพของไทย ได้แลกเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงที่จะจุดประกายแนวคิดและเปิดประสบการณ์ พร้อมต่อยอดศักยภาพให้เติบโตสู่ระดับสากลได้มากยิ่งขึ้น” ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าว
ภายในงานเปิดตัวการแข่งขัน Spark Ignite 2021 Thailand Startup Competition ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ในประเทศไทย ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ “ภาครัฐและองค์กรจะร่วมมือกันผลักดันสตาร์ทอัพซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลของประเทศไทยได้อย่างไร”
นายปริวรรศ วงษ์สำราญ กล่าวในระหว่างการสัมมนาว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของอีโคซิสเต็มของสตาร์ทอัพในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาบริษัทสตาร์ทอัพ Deep Tech ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจ ของหัวเว่ยและสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่มุ่งส่งเสริมบริษัทสตาร์ทอัพในการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงที่หลากหลาย เช่น AI Robotic และ IoT เราหวังอย่างเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะช่วยบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของบริษัทสตาร์ทอัพไทย เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ตลาดระดับภูมิภาคและช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศไทยในอนาคต ด้วยเช่นกัน”
นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ย้ำถึงพันธกิจของหัวเว่ยในการเติบโตในประเทศไทยและสนับสนุนประเทศไทย ซึ่งหัวเว่ยมุ่งสนับสนุนธุรกิจในประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วยส่งเสริมอีโคซิสเต็มในประเทศผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์รายต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
นายอาเบล เติ้ง กล่าวว่า “เราได้รับการสนับสนุนและแรงบันดาลใจเป็นอย่างมากจากความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยกับ ดีป้า, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, KBTG, TusPark WHA, แสนรู้ และพาร์ทเนอร์ที่สำคัญรายต่างๆ ซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อการเติบโตด้านอีโคซิสเต็มของเทคโนโลยีในประเทศไทย ในฐานะพาร์ทเนอร์ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี หัวเว่ยมุ่งผลักดันการขับเคลื่อนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านศักยภาพทางดิจิทัลแก่พาร์ทเนอร์ในอีโคซิสเต็มของเรา เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าธุรกิจสตาร์ทอัพจะเติบโตอย่างรวดเร็ว และมั่นคงยิ่งขึ้น ผ่านการสนับสนุนในการแข่งขันครั้งนี้ และจะเกิดการสร้างงานขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหลังจากวิกฤติโรคระบาด และสำหรับการเข่งขัน Thailand Spark Ignite Start up Competition ในครั้งนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ร่วมงานกับบริษัทสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ เพื่อเข้าสู่โครงการ Huawei Spark ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนทางด้านเครดิตคลาวด์ การเข้าสู่ตลาด และการสนับสนุนด้านไอทีจากหัวเว่ย รวมถึงโอกาสในการเป็นพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีคลาวด์กับหัวเว่ยอีกด้วย
การแข่งขันครั้งนี้มีเป้าหมายเป็นหนึ่งในกิจกรรมสตาร์ทอัพอันทรงอิทธิพลที่สุดและใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นองค์ประกอบสำคัญของอีโคซิสเต็มสำหรับสตาร์ทอัพในประเทศไทย และร่วมเฟ้นหาบริษัทสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพสูง 10 รายจากทั่วประเทศ รวมถึงร่วมมือกับผู้ก่อตั้ง บริษัทร่วมทุน องค์กรต่าง ๆ และรัฐบาล ทั้งนี้ บริษัทผู้เข้าแข่งขันสามารถสมัครและส่งผลงานประกวดได้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ถึง 20 กรกฎาคม 2564 โดยหลังจากผ่านเข้ารอบทั้ง 2 รอบและผ่านการนำเสนอผลงานครั้งสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเลือกเข้าสู่โครงการ Huawei Spark
Recent Comments