คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ หรือ น.อ.(พิเศษ)คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ เกิดวันที่ 7 มิถุนายน 2514 เป็นบุตรของ พล.อ.อ.ธีร์ศิลป์ คัมภีรญาณนนท์ กับ คุณสุธีรา คัมภีรญาณนนท์ (ญ.) สกุลเดิม “ธรรมพิทักษ์” เป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” มีพี่น้องรวม 3 คน เป็นบุตรชายคนโต โดยมีน้องชายชื่อ “คุณศักย์ศรณ์ คัมภีรญาณนนท์” และน้องสาวชื่อ “คุณธริชยา คัมภีรญาณนนท์”

การศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่นที่ 14

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่ รุ่นที่ 28

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท รุ่นที่ 49 (สอบ ม.4 เทียบ ม.6)

ศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 28 และนักเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 35

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต วิศวกรรมไฟฟ้า เกียรตินิยม อันดับ 2 โรงเรียนนายเรืออากาศ

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ(International Political Economy) จาก Claremont Graduate University สหรัฐอเมริกา

สำเร็จการศึกษาวิชาการบิน จากโรงเรียนการบิน สอบได้เป็นอันดับที่ 1 ภาคอากาศ เลือกทำการบินกับเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 ก่อนเปลี่ยนเป็น F-16

จบหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 16 (ปปร.16)

บทบาทและหน้าที่ด้านต่างๆ

บทบาทและหน้าที่ทางด้านการทหาร

  • หัวหน้านักเรียนนายเรืออากาศ
  • นักบินขับไล่เครื่องบินแบบ F-5 ประจำการ ณ กองบิน 23 อุดรธานี
  • นักบินขับไล่เครื่องบินแบบ F-11 ประจำการ ณ กองบิน 1 นครราชสีมา
  • นายทหารคนสนิทของ พล.อ.พัฒน์ อัคนิบุตร ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)
  • นายทหารอากาศไทยคนแรกที่เป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหประชาชาติ การฝึกคอบร้าโกลด์ 08
  • นายทหารฝ่ายเสนาธิการของ พล.อ.รัชกฤต กาญจนวัฒน์ เสนาธิการทหาร
  • นายทหารคนสนิทของ พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกระทรวงกลาโหม
  • ตุลาการศาลทหาร
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ คลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 

บทบาทและหน้าที่ทางด้านการเมือง

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม

และระหว่างรับราชการทหารได้เข้ารับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องการเมือง ดังนี้

  • ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคมวุฒิสภา
  • ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรมในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • แสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยเห็นชอบแนวทางการปฏิวัติประชาธิปไตยของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ที่นำอำนาจให้แก่ประชาชน

เดือนธันวาคม พ.ศ.2559 ลาออกจากราชการ และเข้าร่วมกิจกรรมและแสดงทัศนะทางการเมืองต่างๆ ได้แก่

23 ต.ค. 2559 เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายสมาน ศรีงาม เป็นเลขาธิการพรรคฯ วัตถุประสงค์ของพรรคฯเพื่อถ่ายโอนอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงมาสู่ประชาชนผ่านทางสภาประชาชน

29 ต.ค. 2559 เป็นตัวแทนนายสมาน ศรีงาม ในฐานะเลขาพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย เข้าร่วมเป็นผู้แทนแถลงนโยบายมุ่งชูประชาชนทุกสีแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง พร้อมกับให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติและเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก และคงความเป็นธรรมแก่พี่น้องผู้นับถือศาสนาอื่น พร้อมแก้ไขปัญกาต่างๆ ให้ประชาชน รวมถึงยกย่องพี่น้องผู้เสียชีวิตทางการเมือง และต่อยอดนโยบายที่ดีของรัฐบาล

25 พ.ย. 2559 รับฟังปัญหาที่ดินชาวบ้านโกรกมะเขือ พร้อมกล่าวว่า “กฎหมายเขียนขึ้นโดยคน สามารถลบและแก้ไขได้เสมอ”

25 ธ.ค. 2559 ทำบุญพร้อมยกย่องนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เป็นนักคิดแนวทางประชาธิปไตย และได้นำแนวคิดที่ดีของนายประเสริฐมาประยุกต์ต่อยอดกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

17 เม.ย. 2560 ในฐานะหัวหน้าคณะปวงชนชาวไทยเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเลขาพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย ตั้งเวทีการชุมนุมเรียกร้องจัดตั้งสภาปวงชนชาวไทย (สภาประชาชน)

26 เม.ย. 2560 ในฐานะเลขาพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทยร่วมกับกลุ่มทหารผ่านศึกและพิการ เรียกร้องสิทธิ์และสวัสดิการของกำลังพลทหารทั่วประเทศอย่างเท่าเทียมและขอให้รัฐบาลช่วยเหลือดูแลกำลังพลก่อยการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์

24 มิ.ย. 2560 ในฐานะเลขาธิการและรักษาการหัวหน้าพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทยพร้อม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เสนอตัวเป็นก๊กที่ 3 ไม่ใช่ทหารหรือนักการเมือง แต่เป็นก๊กของประชาชนเพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์วิกฤติบ้านเมือง

25 ธ.ค. 2561 ในฐานะหัวหน้าคณะปวงชนชาวไทยเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเลขาธิการพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย จัดทำบุญครบรอบ 24 ปีการเสียชีวิตของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร พร้อมแถลงสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2562 และประกาศเตรียมพร้อมนำประชาชนทุกฝ่ายเข้าแก้ไขวิกฤติการเมืองของประเทศ

ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2563 เปลี่ยนบทบาทการทำงานอยู่เหนือการเมือง โดยมุ่งเน้นช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและสนับสนุนกิจกรรมทุกเรื่องที่ทำให้เกิดความรู้รักสามัคคี เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และผลักดันประเทศให้เข้าสู่ยุคศิวิไลซ์ด้วยความปรองดองและสันติ

บทบาทและหน้าที่ทางด้านการศาสนา

30 พ.ค.2539 อุปสมบทในธรรมยุติกนิกาย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นพระอุปัชฌาย์

29 พ.ย. 2559 เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมกันปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา ทบทวนกระบวนการพิพากษาตัดสิน โดยต้องปฏิรูปทั้งในข้อกฎหมาย ระเบียบและแนวทางของมหาเถรสมาคม จนถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อเชิดชูพระภิกษุสงฆ์

28 ธ.ค. 2559 ยื่นทูลเกล้าถวายฎีกาผ่านเลขานุการในพระองค์ฯ เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอพระบารมีปกเกล้าฯ แก้ไขวิกฤติพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้น พร้อมวิงวอนขอให้รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติและหน่วยงานราชการทุกภาคส่วนยุติการดำเนินการทุกเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับพระภิกษุสงฆ์และพระพุทธศาสนาเป็นการชั่วคราว

20 ก.พ. 2560 ออกมาขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยกเลิก ม.44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในการใช้กำลังทำหารตำรวจปิดล้อมวัดพระธรรมกาย

4 มิ.ย. 2561 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพระภิกษุสงฆ์ตกเป็นเป้าโจมตีและถูกกล่าวหาได้ง่ายเพราะไม่มีกระบวนการปกป้องพระภิกษุสงฆ์ผู้บริสุทธิ์

25 ธ.ค. 2561 ออกแถลงว่า ถ้าสถานการณ์บ้านเมืองเกิดวิกฤติความขัดแย้งขึ้นไม่ว่าภายหลังการเลือกตั้งหรือไม่มีการเลือกตั้ง พร้อมนำประชาชนทุกฝ่ายปฏิวัติเข้าแก้ไขปัญหาประเทศเพื่อยุติวงจรอุบาทว์ทางการเมือง ซึ่งจะยกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ได้ส่งเสริม สนับสนุน และอุทิศทรัพย์สินถวายเพื่อทำนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ดังนี้

1.จัดบรรพชาและอุปสมบทศาสนทายาทเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เช่น โครงการอุปสมบทศาสนทายาทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 1 และ 2

2.จัดสร้างพระพุทธรูปและพระประธาน ถวายเป็นพระพุทธบูชา เช่น พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร จำนวน 69 องค์ ณ ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร, พระพุทธมหาชัยมงคล ณ วัดสระจระเข้ นครราชสีมา

3.จัดสร้างเสนาสนะ อาคาร และกุฏิ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนในพุทธสถานทั่วประเทศ เช่น ศูนย์ปฏิบัติธรรมและพัฒนาคนดีศรีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่, วัดพระธาตุดอยผาขาว จังหวัดเชียงใหม่, วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดพิษณุโลก, วัดขอนหาด จังหวัดนครศรีธรรมราช และสนับสนุนกิจการสถานีโทรทัศน์ธรรมาธิปไตยเพื่อประชาชน (DDTV)

บทบาทและหน้าที่ทางด้านการถวายงานฯ

ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลหลายวาระ เช่น

งาน “10 ศิลปินไทย เทิดไท้องค์ราชัน ในหลวงรัชกาลที่ 10” ณ หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ

โครงการอุปสมบทศาสนทายาทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 1 ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ และครั้งที่ 2 ณ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่

งาน “มหกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เทิดไท้องค์ราชันฎ ณ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

งานไถ่ชีวิตโค-กระบือ ถวายเป็นพระราชกุศล ณ บ้านท่าลาด จังหวัดสุรินทร์

งานส่งมอบโค-กระบือ ให้กับเกษตรกร ถวายเป็นพระราชกุศล ณ วัดป่าสตึกพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ และพุทธอุทยานอาณาจักรหลวงปู่ทวด (เขาใหญ่) นครราชสีมา

13 ต.ค. 2563 เป็นผู้แทนท่านชายวัชรเรศร วิวัชรวงศ์ (ท่านอ้น) เป็นองค์ประธานตั้งองค์กฐินและปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา เพื่อสร้างสันติภาพสู่สันติสุขทั่วประเทศระหว่างวันที่ 13-18 ต.ค. 2563 เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ สำนักปฏิบัติธรรมพุทธพัฒนา จังหวัดสระแก้ว

25 ต.ค. 2563 เป็นประธานทอดกฐินพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดกลางมิ่งเมือง พระอารามหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นเจ้าภาพทอดกฐินตกค้าง 69 วัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล

14 พ.ย. 2563 จัดประกวดภาพวาด “My Best Mom แม่ที่ดีที่สุดในอุดมคติของฉัน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

บทบาทและหน้าที่ทางด้านศิลปวัฒนธรรม

ในปี พ.ศ. 2559 ระหว่างดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรมในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เป็นผู้ริเริ่มและผลักดันให้เกิดโครงการเยาวชนต้นแบบอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อให้เยาวชนรู้สึกภาคภูมิใจความเป็นชาติและปลุกกระแสค่านิยมไทยสู่คนรุ่ยใหม่ลดปัญกาใช้โซเชียลมีเดียไม่เหมาะสม

สนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เช่น งานนิทรรศการภาพศิลป์” 10 ศิลปินไทย เทิดไท้องค์ราชัน ในหลวงรัชกาลที่ 10”, งาน “มหกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เทิดไท้องค์ราชัน”, และขบวนแห่ลูกแก้ว ช้าง ม้าแบบล้านนา ในโครงการอุปสมบทศาสนทายาทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 2 ณ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่

สนับสนุนผลงานและการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของศิลปินแห่งชาติและศิลปินแนวหน้าของเมืองไทย เช่น งานศิลป์แผ่นดินไทย ณ หอศิลป์อาร์ตบางกอกเซ็นเตอร์ สี่พระยา

สนับสนุนการจัดทำมิวสิควีดีโอ ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเยาวชน เช่น ซีรีส์ “มั่ง-มี-ศรี-ศพ”, ซีรีส์ “BROTHERS รักนะน้องชาย รักนายครับผม”

บทบาทและหน้าที่ทางด้านสาธารณประโยชน์

แจกจ่ายอุปกรณ์ด้านการแพทย์และระดมทุนร่วมกับมิตรประเทศเพื่อก่อสร้างโรงานผลิตหน้ากากอนามัยขนาดใหญ่เพื่อถวายสถาบันฯ ช่วยรัฐบาล และพี่น้องประชาชนคนไทยจำนวน 69 ล้านคน ให้สามารถมีอุปกรณ์ป้องกันทางการหายใจทุกวัน หากระบาดทั่วของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในประเทศไทยบานปลายยากต่อการควบคุม

ลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส นำส่งของที่จำเป็นมอบให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม รวมถึงนำอุปกรณ์กีฬามอบให้กับโรงเรียนในพื้นที่พร้อมรับฟังปัญหาความต้องการของชาวบ้านเกี่ยวกับเรื่องของอาชีพหวังแก้ไขปัญหาคนทิ้งบ้านออกไปทำงานนอกพื้นที่และเชิญชวนคนไทยลงมาท่องเที่ยวภาคใต้เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจ

มอบทุนทำนุบำรุงศาสนสถานพุทธ คริสต์ และอิสลาม ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 51 แห่ง และมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา ที่มีการเรียนดี ขาดแคลนทุนทรัพย์ และนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ณ โรงเรียนศรีชีวินวิทยา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา พร้อมจัดกิจกรรมเวทีเสวนาสร้างความปรองดองของคนในชาติ

รางวัลที่ได้รับ

รางวัลที่ 1 ภาคอากาศ โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ

โล่เกียรติคุณ “ภูมิสิริแผ่นดินสยาม ทวยราษฎร์ผู้ตามรอบพระบาท” ประจำปี 2563

รางวัลคนดีศรีสยาม สาขานักพัฒนาและทำคุณประโยชน์ต่อศาสนาและสังคมดีเด่น,ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติดีเด่น, นักพัฒนาบริหารธุรกิจแบบอย่างดีเด่น, การแพทย์และสาธารณสุขดีเด่น, ต้นแบบผู้ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยดีเด่น,ผู้เป็นแบบอย่างตัวอย่างที่ดีเด่น

รางวัลบุคคลแห่งชาติ (ครุฑทอง) สาขาส่งเสริมศาสนา, การทหารพัฒนาและป้องกันประเทศ, ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม, ศิลปะส่งเสริมวัฒนธรรม,บริหารพัฒนาธุรกิจ

รางวัลบุคคลต้นแบบแห่งชาติ (ครุฑเงิน) สาขาส่งเสริมศาสนาดีเด่น, นักบริหารธุรกิจดีเด่น,ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมดีเด่น, การแพทย์ การสาธารณสุขดีเด่น, ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมดีเด่น

รางวัลเพชรกนก สาขาเมตตาธรรม

รางวัลกนกนาคราช สาขา องค์กรศรีแผ่นดินพิทักษ์ปกป้องสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารองค์กรที่มีคุณสมบัติครบถ้วน

รางวัลหงส์อวอนร์ด สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติดีเด่น

รางวัล Top 10 VIP Golden of Asia 2020 ผู้นำบริหารและพัฒนาองค์กรดีเด่น

รางวัล Asia Best Diamond Award 2020 สาขาผู้นำบริหารธุรกิจดีเด่น

รางวัลอินทรีย์ทองแห่งเอเชีย สาขาบุคคลต้นแบบตัวอย่างดีเด่น, ผู้ส่งเสริมด้านศาสนาดีเด่น, ผู้ทำคุณต่อประเทศชาติดีเด่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)

เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)